บนทางสู่อารยะ: สังคมวิทยาและประวัติศาสตร์ในทัศนะของนอร์เบิร์ต เอโลอัส

อัปเดตล่าสุดเมื่อ:2025-03-04 10:27:57

บนทางสู่อารยะ: สังคมวิทยาและประวัติศาสตร์ในทัศนะของนอร์เบิร์ต เอโลอัส

ผู้แต่ง : ชาญ พนารัตน์

สำนักพิมพ์ : อิลลูมิเนชันส์ เอดิชันส์

ปีพิมพ์ : 2565

พิมพ์ครั้งที่: พิมพ์ครั้งที่ 1


บนทางสู่อารยะ: สังคมวิทยาและประวัติศาสตร์ในทัศนะของนอร์เบิร์ต เอโลอัส นอร์เบิร์ต เอไลอัส (Norbert Elias) (1897-1990) นักสังคมวิทยาผู้นิยามว่าตนเป็นชาวเยอรมันยิว ("German Jew") เกิดในเบรสเลา (Breslau) หรือปัจจุบันคือ วรอครอว์ (Wroclaw) ในโปแลนด์ จักรวรรดิเยอรมัน ประสบการณ์ในแนวหน้าในสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ เขาหันมาสนใจวิชาสังคมวิทยา เมื่อพรรคนาซีเยอรมันขึ้นมามีอำนาจในปี ค.ศ.1933 (พ.ศ.2476) เขาลี้ภัยไปฝรั่งเศส และไปอังกฤษในอีก 2 ปีต่อมา เขาสูญเสียมารดาจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาว ยิวที่เอาซ์วิทซ์ (Auschwitz) จากที่ตัวของเอไลอัสและคุณแม่ของเขาเองก็ต้องเผชิญหน้ากับความ รุนแรงถึงชีวิต งานวิชาการของเขาหลายชิ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่ศึกษาแง่มุม เรื่องความรุนแรง และสภาวะศิวิไลซ์ เป็นการเน้นทำความเข้าใจชะตาชีวิตของมนุษยชาติและของครอบครัวเอไลอัส เอง นอกจากนี้ตั้งแต่ช่วงชีวิตวัยเด็กจนสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกในเยอรมนีและชีวิตทาง วิชาการในอังกฤษ เอไลอัสเผชิญกับการถูกกีดกันในฐานะที่เป็น "คนนอก" และตั้งแต่ในคริสต์ทศวรรค 1970 เป็นต้นไปข้อเสนอทางวิชาการของเอไลอัสซึ่งในขณะนั้นอายุ 70 ปีกว่าๆ ก็เริ่มเป็นที่ ยอมรับในยุโรปภาคพื้นทวีป เขาตัดสินใจกลับไปสอนและวิจัยที่เยอรมนีและปักหลักที่เนเธอร์แลนด์ จนวาระสุดท้ายของชีวิต หนังสือ บนทางสู่อารยะ: สังคมวิทยาและประวัติศาสตร์ในทัศนะของ Norbert Elias เล่มนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อแนะนำให้ผู้อ่านได้เห็นพัฒนาการและแนวความคิดหลักของเอไลอัสส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดเรื่องกระบวนการสู่ความศิวิไลซ์ ตัวแบบในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ อัตลักษณ์ตัวแบบในการศึกษาพัฒนาการรัฐ ตั้งแต่ยุคจารีตถึงรัฐรวมศูนย์อำนาจทางการเงินและความรุนแรง และตัวแบบในการศึกษากีฬา มุมมองต่อระเบียบวิธีวิจัยและมุมมองทางญาณวิทยา ตลอดจนกล่าวถึงข้อจำกัดและข้อวิจารณ์ต่อความคิดของเอไลอัลไว้ด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในแง่ที่ให้ความเข้าใจต่อตัวแบบทางทฤษฎีสำหรับการนำไปใช้ทำวิจัยทางสังคมศาสตร์และประวัติศาสตร์



ตรวจสอบสถานะทรัพยากรสารสนเทศในระบบ