การผลิตและใช้สื่ออย่างเป็นระบบ เพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 /

อัปเดตล่าสุดเมื่อ:2025-03-04 10:47:27

การผลิตและใช้สื่ออย่างเป็นระบบ เพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 /

ผู้แต่ง : จินตวีร์ คล้ายสังข์

สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปีพิมพ์ : 2563

พิมพ์ครั้งที่: พิมพ์ครั้งที่ 2


การผลิตและใช้สื่ออย่างเป็นระบบ เพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 หนังสือเรื่อง การผลิตและใช้สื่ออย่างเป็นระบบเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 นี้อยู่ในหนังสือชุดการบูรณาการ ICT สู่การเรียนรู้สำหรับผู้เรียนยุคใหม่ โดยทีมผู้เขียนหนังสือชุดนี้มีความเห็นร่วมกันว่า ในศาสตร์ของเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษานั้น พื้นฐานที่สำคัญที่สุดคือ การผลิตและใช้สื่อฯ อย่างเป็นระบบ ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่จะนำไปสู่ประสิทธิภาพของสื่อและประสิทธิผลที่เกิดต่อผู้เรียนได้เป็นอย่างดี หนังสือเล่มนี้จึงเปรียบเสมือนรายวิชา 101 อันรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน ตลอดจนขั้นตอนในการผลิตสื่อที่สำคัญสำหรับทุกท่านที่สนใจในศาสตร์สาขาวิชานี้อีกทั้งยังสามารถนำไปต่อยอดสู่สื่อหลากหลายประเภทอันได้กล่าวถึงในหนังสือเล่มอื่นๆ ในชุดนี้ไม่ว่าจะเป็น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออีบุ๊ก สื่อดิจิทัล วีดีทัศน์ สื่อทัศนศึกษาเสมือน และสื่อโซเชียลมีเดีย อีกสาเหตุหนึ่งซึ่งเป็นแรงบันดาลใจสำคัญกับผู้เขียนคือ จากประสบการณ์ที่ได้เป็นวิทยากรแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคณาจารย์ในศาสตร์สาขาวิชาอื่นๆ พบว่าหลายท่านยังมองสื่อการสอนแยกออกจากการออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอน ซึ่งจริงๆ แล้วทั้ง 2 กระบวนการควรที่จะเดินไปพร้อมๆ กันทั้งในด้านการกำหนดวัตถุประสงค์ การประเมินผล การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ และการเลือกใช้สื่อฯ โดยทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นหลังจากการที่เราได้วิเคราะห์ความต้องการจำเป็น วิเคราะห์ผู้เรียน วัตถุประสงค์ และบริบทต่างๆ แล้วด้วยสาเหตุดังกล่าวผู้เขียนจึงตั้งใจพัฒนาหนังสือเล่มนี้ออกมาเพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพดังกล่าวว่าแท้จริงแล้ว การออกแบบการเรียนการสอนนั้นประกอบด้วย การกำหนดวัตถุประสงค์ การประเมินการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ และการเลือกใช้สื่อฯ และทั้งหมดเป็นกระบวนการเดียวกัน กลุ่มเป้าหมายหลักของหนังสือเล่มนี้คือ ครู อาจารย์ ในสถาบันการศึกษาทุกระดับ ทั้งในระบบและนอกระบบ ผู้ที่ดูแลหลักสูตรฝึกอบรมในองค์กร ตลอดจนนิสิตนักศึกษาที่สนใจในการผลิตและใช้สื่อการสอน การออกแบบการเรียนการสอนที่เน้นวัตกรรมการเรียนการสอน หรือการออกแบบสื่อใหม่ โดยมีพื้นฐานแนวคิดจากทฤษฎีระบบและทฤษฎีการเรียนรู้ ผสมผสานกับรูปแบบการเรียนการสอนต่างๆ นำมาปรับให้มีความทันสมัยและเท่าทันเทคโนโลยี เพื่อให้เหมาะกับการเรียรรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ครอบคลุมทั้งในบริบทการศึกษาภาคบังคับและอุดมศึกษาต่อไป



ตรวจสอบสถานะทรัพยากรสารสนเทศในระบบ