View map View map ตาสว่าง

อัปเดตล่าสุดเมื่อ:2021-04-22 00:00:00

View map View map ตาสว่าง

ผู้แต่ง : โซปรันเซ็ตติ, คลาวดิโอ

สำนักพิมพ์ : อ่านอิตาลี

ปีพิมพ์ : 2563

พิมพ์ครั้งที่:


ตาสว่าง หรือ IL RE DI BANGKOK คือนิยายภาพ (Graphic Novel) ที่ดัดแปลงจากเหตุการณ์จริง ฉากหลังของเรื่องเกิดในประเทศไทยตั้งแต่ทศวรรษ 2520 ถึง ทศวรรษ 2550 งาน fiction ชิ้นนี้คือส่วนผสมระหว่างการศึกษาด้านมานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์การเมืองไทยร่วมสมัย ศิลปะการประพันธ์ และงานกราฟิก องค์ประกอบเหล่านี้ได้สร้างความหมายกระทบใจในเชิงกวีนิพนธ์ คณะผู้แต่ง ตาสว่าง ได้ศึกษาค้นคว้าทางด้านมานุษยวิทยาในประเทศไทยเป็นเวลาสิบปี บวกกับบทสัมภาษณ์กว่าร้อยชั่วโมง โดยได้เข้ามาพำนักอยู่ในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2558 จัดทำคลังข้อมูลทั้งในรูปแบบของภาพถ่ายและฟิล์มภาพยนตร์ กว่า 5,000 รายการ โดยใช้เอกสารจากหอสมุดแห่งชาติ หอภาพยนตร์ และงานสะสมส่วนบุคคลของนักประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ทั้งหมดนี้เพื่อกอปรสร้างชีวิตของ ‘นก’ มอเตอร์ไซค์รับจ้างชาวอุดรธานีผู้เข้ามาแสวงหาชีวิตที่ดีในเมืองหลวงช่วงกลางทศวรรษ 2520 ชีวิตของนกถูกเหวี่ยงด้วยแรงลมของการเมืองที่พัดเพในแต่ละยุคสมัย แต่เขากลับรู้สึกมีอิสระดุจนกบิน หรืออาจจะตระหนักเพียงว่าเกิดเป็นนกก็ต้องบิน แต่แรงลมของการเมืองนี้เองได้ดูดดึงเขาเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งกับคนเสื้อแดง ด้วยความเชื่อมั่นในศักยภาพในสิทธิของตน เสรีภาพของตน ตื่นรู้ ตระหนักถึงตัวตนทางการเมือง อิสระดุจนกก่อนหน้านี้คือ ‘ภาพลวงตา’ ก่อนที่ลมจะพัดพรากทุกสิ่งไปหลังสูญเสียดวงตาจากการสลายการชุมนุมทางการเมืองของคนเสื้อแดง ปี 2553 และ ‘ภาพลวงตา’ กลับมาตอกย้ำภาวะ ‘ตาสว่าง’ อีกครั้งหลังรัฐบาลที่เขาสนับสนุนชนะการเลือกตั้งในปี 2558 ทันทีที่ตาสว่าง เขากลับมองเห็นประเทศที่ตนอาศัยอยู่ช่างมืดมน ไม่มีทางออก ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีความยุติธรรม ไม่มีสิ่งซึ่งสามารถไว้วางใจ ทุกสิ่งที่เคยมองเห็นล้วนแต่เป็นเพียง ‘ภาพลวงตา’ กระสุนทำให้เขา ‘ตาบอด’ และ ‘ตาสว่าง’ ภายในนัดเดียว เหมือนนายพรานยิงปืนหนึ่งนัดได้นกสองตัว ชีวิตเพียงหนึ่งชีวิตของชาวอีสานผู้นี้กลายเป็นการบอกเล่าชะตากรรมของคนในสังคมไทยได้ทั้งประเทศ เรื่องราวในนิยายภาพเป็นประหนึ่งบันทึกประวัติศาสตร์การเมืองของสังคมไทย แม้ตัวละคร ‘ตาบอด’ ในเรื่องจะ ‘ตาสว่าง’ แต่ยังไม่มี ‘แสงสว่าง’ ของประเทศ ไม่ว่าจะในหรือนอกนิยายภาพเล่มนี้



ตรวจสอบสถานะทรัพยากรสารสนเทศในระบบ