ภาษากับการสื่อสารมวลชน

อัปเดตล่าสุดเมื่อ:2022-03-06 00:00:00

ภาษากับการสื่อสารมวลชน

ผู้แต่ง : วิรัช วงศ์ภินันท์วัฒนา

สำนักพิมพ์ : สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ปีพิมพ์ : 2564

พิมพ์ครั้งที่:


การสื่อสารเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ในการถ่ายทอดความรู้ความคิดและความรู้สึกนึกคิด การสื่อสารมี จุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร โดยเฉพาะในปัจจุบันที่สื่อมวลชนมีบทบาทสำคัญต่อการนำเสนอเนื้อหาด้านสังคม การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ การศึกษา วัฒนธรรม หรือความ บันเทิง ภาษาเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการให้ข้อมูลข่าวสารดังกล่าวเพื่อประโยชน์และความพึงพอใจแก่ผู้รับสารความแตกต่างและหลากหลายของการใช้ภาษาทั้งวัจนภาษา (ภาษาที่ใช้ถ้อยคำ) และอวัจนภาษา (ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำ) จึงขึ้นอยู่กับประเภทของสื่อมวลชน เนื้อหาที่นำเสนอ กลุ่มผู้รับสาร และปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อลักษณะการใช้ภาษา การสื่อสารเป็นการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม หรือสารที่แต่ละบุคคลต้องการสื่อสารถึงกันโดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร การติดต่อสื่อสารจำเป็นต้องใช้สื่อเป็นตัวกลางในการติดต่อกัน ไม่ว่าจะเป็นสื่อธรรมชาติ เช่น อากาศ แสง หรือสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อสารมวลชนเป็นสื่อประเภทหนึ่งที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้ในการติดต่อกับคนจำนวนมากโดยเฉพาะข้อมูลข่าวสารที่มีบทบาทและอิทธิพลต่อคนส่วนใหญ่ในสังคม การใช้ภาษาในการถ่ายทอดสารจึงจำเป็นต้องเข้าถึงบุคคลต่าง ๆ ที่มีความแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นภาษาพูดหรือภาษาเขียนขึ้นอยู่กับประเภทของสื่อ เนื้อหา ผู้รับสารและปัจจัยอื่น ๆ



ตรวจสอบสถานะทรัพยากรสารสนเทศในระบบ