อัปเดตล่าสุดเมื่อ:2022-09-06 00:00:00
ผู้แต่ง : พีรศรี โพวาทอง
สำนักพิมพ์ : สถาบันพระปกเกล้า
ปีพิมพ์ : 2564
พิมพ์ครั้งที่: 1
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นช่วงทศวรรษที่เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมากในบริบททางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครอง การขยายของเมืองและพลเมืองที่สูงขึ้น การพัฒนาสาธารณูปโภค การปรับตัวเข้าสู่สภาวะ “สมัยใหม่” ในสังคมสยาม ส่งผลให้สถาปัตยกรรมมีรูปแบบที่หลากหลาย โครงการก่อสร้างของภาครัฐสะท้อนความพยายามที่จะพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมมาตราฐานตะวันตก ขณะเดียวกันยังพยายามธำรงรักษาอัตลักษณ์ความเป็นชาติไว้ในงานสถาปัตยกรรมของอาคารสถานศึกษา ศาสนสถาน และอนุเสาวรีย์ ส่วนภาคเอกชนผสมผสานรูปแบบสถาปัตยกรรมที่หลากหลายของโลกตะวันตกกับแบบแผนความเป็นอยู่ของสยาม และเพราะในยุคสมัยนั้นการผลิตวัสดุก่อสร้างและวิธีการก่อสร้างแบบสมัยใหม่ ส่งผลให้การก่อสร้างอาคารมีรูปแบบสมัยใหม่เรียบง่าย โดยออกแบบให้เน้นหน้าที่ใช้สอยให้มากขึ้นกว่าแต่เดิม ในยุคสมัยรัชกาลที่ 7 มีพัฒนาการด้านสถาปัตยกรรมที่สำคัญ ซึ่งถือเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญที่ช่างฝรั่งค่อย ๆ ลดบทบาทลง ภายหลังการเริ่มเข้ารับราชการของสถาปิกสยามรุ่นแรก รวมถึงเกิดการพัฒนาสถาบันการศึกษาด้านการช่าง ทั้งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงเรียนช่างก่อสร้าง อุเทนถวาย มีการตั้งสมาคมวิชาชีพ สมาคมสถาปนิกสยาม เพื่อผดุงมาตราฐานการประกอบวิชาชีพ และเป็นรากฐานที่สำคัญสืบต่อมาจนยุคปัจจุบัน.