ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ : วิวัฒนาการรัฐไทย

อัปเดตล่าสุดเมื่อ:2020-08-18 00:00:00

ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ : วิวัฒนาการรัฐไทย

ผู้แต่ง : กุลลดา เกษบุญชู มี้ด

สำนักพิมพ์ : ฟ้าเดียวกัน

ปีพิมพ์ : 2562

พิมพ์ครั้งที่: 1


อะไรคือแรงผลักดันเบื้องหลังการเกิดรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของไทย และเหตุใดมันจึงเสื่อมลงในเวลาเพียงชั่วศตวรรษ คือคำถามสำคัญของหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนอาศัยทฤษฎีของโบรเดล (Fernand Braudel) และวอลเลอร์สไตน์ (Immanuel Wallerstein) ซึ่งโยงบทบาทของระบบทุนนิยมโลกกับการสร้างรัฐสมัยใหม่ มาใช้วิเคราะห์การเปลี่ยนรูปแบบรัฐไทยจากรัฐศักดินามาเป็นรัฐบูรณาญาสิทธิราชย์ และได้ให้คำอธิบายที่แตกต่างไปจากงานศึกษาอื่น หนังสือเล่มนี้ยังพยายามแสดงให้เห็นว่าในกระบวนการสร้างรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น ได้มีการเพาะเมล็ดพันธุ์ที่จะทำลายระบอบในตัวมันเองลง โดยเฉพาะการสร้างระบบราชการสมัยใหม่ อันเป็นกลไกที่ทรงประสิทธิภาพในการทำงานของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หากแต่กลับกลายเป็นกลไกที่กลืนกินตัวเอง สิ่งนี้สะท้อนจากความไม่พอใจภายในระบบราชการที่ก่อตัวและปะทุขึ้น จนนำมาสู่กบฏ ร.ศ.130



ตรวจสอบสถานะทรัพยากรสารสนเทศในระบบ