คู่มือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ

อัปเดตล่าสุดเมื่อ:2024-01-29 00:00:00

คู่มือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาวิตรี สิงหาด, ผู้ช่วยศาสตราจารย์อธิพงศ์ สุริยา, อาจารย์สุฬดี กิตติวรเวช และนายแพทย์จำลอง กิตติวรเวช

สำนักพิมพ์ : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ปีพิมพ์ : 2566

พิมพ์ครั้งที่: 1


ภาวะสมองเสื่อมเป็นกลุ่มอาการที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นในประเทศไทยและทั่วโลก ซึ่งการรักษาภาวะสมองเสื่อมในปัจจุบัน เป็นการรักษาเพื่อประคับประคอง ไม่สามารถรักษาให้หายได้ เมื่อเกิดภาวะสมองเสื่อมขึ้น ย่อมส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ รวมทั้งระบบบริการสุขภาพ ตลอดจนผู้ดูแล ครอบครัว ชุมชน และสังคม จากปัญหาดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นในการเตรียมความพร้อมของระบบการดูแลเพื่อรองรับสังคมสูงวัย เชื่อมโยงสู่การพัฒนาดิจิทัลไทยแลนด์ 4.0 กับการสร้างวิถีใหม่ในการให้บริการด้านสุขภาพ โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีที่ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ - คณะผู้จัดทำตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุดังกล่าว จึงได้พัฒนาคู่มือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ผู้ดูแลประชาชน ครอบครัวและชุมชน ให้มีความรู้ความเข้าใจในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ป้องกันการเจ็บป่วยทุพพลภาพและลดภาวะพึ่งพา ลดอัตราการเกิดภาวะสมองเสื่อม ลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศในการดูแลรักษา ลดภาระในการดูแลผู้สูงอายุโรคสมองเสื่อมแก่ครอบครัว และสังคมไทยในอนาคตให้สามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุขต่อไป



ตรวจสอบสถานะทรัพยากรสารสนเทศในระบบ